การอ่านและการทำความเข้าใจบทความ หรือข้อความ การสรุปความ การตีความ เป็นการอ่านเนื้อหาจากบทความแล้วนำมาตอบคำถาม ซึ่งคำถามก็มีหลายแบบ เช่น ข้อใดคือสาระสำคัญของบทความ, บทความนี้กล่าวถึงเรื่องใด, จงตั้งชื่อเรื่องของบทความนี้, จากบทความข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง, จากบทความข้อใดคือความคิดเห็นของผู้เขียน, ข้อใดคือจุดประสงค์ของบทความ ทั้งหมดที่เป็นตัวอย่างคำถามที่เป็นข้อสอบจริง เมื่อบทความเดียวแต่มีคำถามที่หลากหลายเรามีความจำเป็นที่จะต้องรู้หลักการตอบของบทความ เพราะหลายคนเมื่ออ่านแล้ว หรือเคยสอบ กพ. แล้วเดินออกจากห้องสอบไปมักจะพูดกันว่า “ข้อสอบวิเคราะห์ๆ” แท้จริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะการทำข้อสอบได้ดีนั้นต้องรู้หลักการตอบ แน่นอนมันเป็น “สูตร” ให้เราจำไปใช้นั้นก็คือหลักการตอบคำถาม
ปล. การอ่านและการทำความเข้าใจบทความ หรือข้อความ การสรุปความ การตีความ หมายเหตุให้เข้าใจแบบบ้านๆ ก็ได้ คือเนื่องจากขนาดของบทความไม่ขนาดไม่เท่ากัน จึงเป็นที่นิยมและเรียกกันติดปากว่า “บทความสั้น” หรือ “บทความยาว”

ตัวอย่างการทำข้อสอบและการหาคำตอบ
คณะการมการกฤษฎีกา และศาลปกครอง ไม่ใช่สถาบันหรือหน่วยงานที่มีอำนาจในการตรากฎหมาย ทั้งนี้เพราะคณะการมการกฤษฎีกามีหน้าที่ตีความกฎหมาย ส่วนศาลปกครองเป็นศาลที่ตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ตัดสินกรณีพิพาทระหว่างประชาชนกับข้าราชการหรือหน่วยงานของรัฐด้วยกัน
สาระสำคัญของบทความข้างต้นคือข้อใด
ก. ความสำคัญของคณะการมการกฤษฎีกาและศาลปกครอง
ข. ความแตกต่างของคณะการมการกฤษฎีกากับศาลปกครอง
ค. หน้าที่ของคณะการมการกฤษฎีกาและศาลปกครอง
ง. การตรากฎหมายของคณะการมการกฤษฎีกาและศาลปกครอง
ตอบ ข. (สาระสำคัญ ให้หา ประธาน + สรุป)
ประธาน คือ คณะการมการกฤษฎีกา และศาลปกครอง
สรุป คือ ความแตกต่างเพราะมีคำว่า “ส่วน” ส่วนศาลปกครองเป็นศาลที่ตั้งขึ้นเพื่อ…

