รูปแบบ อุปมาอุปไมย ที่มักนำมาออกข้อสอบ ก.พ.

อุปมา คือสิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบเทียบ อุปไมย คือสิ่งหรือข้อความที่พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นหรือคำอุปมา อุปมาอุปไมย หรือ (figurative pragma) คือการใช้ถ้อยความเพื่อสื่อความหมายในการสื่อสาร ซึ่งตามหลักสูตรของ ก.พ. เป็นการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปในด้าน “การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ” รูปแบบ อุปมาอุปไมย ที่มักนำมาออกข้อสอบ ก.พ. มีดังนี้

1. ประเภทของสัตว์

เชาวน์ปัญญา

  • เป็นสัตว์บก สัตว์น้ำ หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
  • เป็นสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่า เช่น สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยง เลียงผาเป็นสัตว์ป่า
  • เป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น สมัน นกโดโด้
  • เป็นสัตว์สัญลักษณ์ของประเทศ เช่น ช้างประเทศไทย จิงโจ้ออสเตรเลีย
แมว : สีสวาด? : ?
1. ไก่เอี้ยง
2. เสือตะเภา
3. ลิงแสม
4. นกตะเพียน
ตอบ 3. สีสวาดเป็นชื่อพันธุ์ของแมว เช่นเดียวกับแสมก็เป็นชื่อพันธุ์ของลิง

2. ตำแหน่งหน้าที่และสถานที่ทำงาน

เชาวน์ปัญญา

  • ให้นึกถึงตำแหน่งหน้าที่และสถานที่ทำงาน เช่น ครูกับโรงเรียน, แพทย์กับโรงพยาบาล, ตำรวจกับสถานีตำรวจ
  • ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น ผู้อำนวยการโรงเรียนกับครู, นายอำเภอกับปลัดอำเภอ
  • งานหรือตำแหน่งงานกับเครื่องมือที่ใช้ เช่น ทหารกับปืน, หมอกับเข็มฉีดยา
 ครู : โรงเรียน? : ?
1. ปลัดอำเภออบต
2. แพทย์โรงพยาบาล
3. ตำรวจศาล
4. พัศดีสำนักงานที่ดิน
ตอบ 2. ครูทำงานที่โรงเรียน ส่วนแพทย์ทำงานที่โรงพยาบาล

3. เพศและลำดับความสัมพันธ์ของญาติ

เชาวน์ปัญญา

  • เป็นเพศหญิงหรือชาย เช่น พ่อ,ลุง,ปู่,ตา,พระ,เณร แม่,ป้า,ย่า,ยาย,แม่ชี
  • เป็นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง เช่น น้า,อา
  • บางครั้งรวมเพศของสัตว์ด้วย เช่น พังคือช้างตัวเมีย, พลายคือช้างตัวผู้
  • สืบเชื้อสาย เช่น ลุงกับพ่อ, พ่อกับอา, แม่กับน้า, พี่กับน้อง
 พี่ : หลาน? : ?
1. พ่อแม่
2. ป้าลุง
3. พังพลาย
4. น้าอา
ตอบ 4. พี่และหลานเป็นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง เช่นเดียวกับน้าและอา

4. ชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง

เชาวน์ปัญญา

  • ให้ดูว่าเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทวีปอะไร (แอฟริกา แอนตาร์กติกา เอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้)
  • ประเทศนั้นเคยเป็นเมืองขึ้นหรือไม่ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ หรือกัมพูชา ลาว เวียดนาม ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
  • ประเทศนั้นเป็นมีสภาพเป็นเกาะหรือไม่ เช่น ญี่ปุ่น‎, จาเมกา, นิวซีแลนด์‎, ไอซ์แลนด์‎, ฟิจิ‎
ไทย : ฝรั่งเศส? : ?
1. รัสเซียสวีเดน
2. อินโดนีเซียสหรัฐอเมริกา
3. พม่าแคนาดา
4. สิงคโปร์อิตาลี
ตอบ 4. ไทยและสิงคโปร์เป็นประเทศที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนฝรั่งเศสและอิตาลีและยุโรป

5. สิ่งที่มีประโยชน์ใช้สอยคล้ายกันหรือใช้คู่กัน

เชาวน์ปัญญา

  • ให้คิดถึงเครื่องใช้ที่เป็นของคู่กัน เช่น, ดินสอกับยางลบ
  • ของสมัยโบราณกับสมัยใหม่ เช่น พัดกับพัดลม, เกวียนกับรถยนต์
  • ของแท้(ธรรมชาติ) กับของเทียม เช่น ใบลานกับกระดาษ, ใบตองกับถุงพลาสติก
เรือแจว : เรือยนต์? : ?
1. ปลาเรือดำน้ำ
2. พัดลมพัด
3. น้ำแข็งตู้เย็น
4. จักรยานมอเตอร์ไซค์
ตอบ 4. สมัยโบราณกับสมัยใหม่ (แรงกาย-เครื่องยนต์)

6. สิ่งที่ประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกัน

เชาวน์ปัญญา

  • เป็นของที่ต้องใช้ในบ้านแต่ใช้เฉพาะส่วน เช่น ใช้ในสวน ในห้องน้ำ ในห้องครัว ในห้องน้ำ ฯลฯ
  • วัสดุที่ใช้ในการผลิต ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือทำด้วยมือ เช่น น้ำอัดลมผลิตจากโรงงาน, เสื่อกกทำด้วยมือ
  • ทำงานโดยอาศัยอะไร เช่น พัดลม กาต้มน้ำร้อน ทำงานโดยอาศัยไฟฟ้า
  • ให้คิดถึงลักษณะนาม เช่น เล่ม ใช้กับเกวียน,หนังสือ,เข็ม,ทวน,หอก,ดาบ,ตาลปัตร,ตะหลิว,ไม้ตะพด
สบู่ : กระทะ? : ?
1. แชมพูถาด
2. กรรไกรตัดกิ่งถ้วยกาแฟ
3. โซฟาตะหลิว
4. มีดแปรง
ตอบ 1. ใช้ในห้องน้ำ และใช้ในห้องครัว

7. ร่างกายและอวัยวะของมนุษย์

เชาวน์ปัญญา

  • เป็นอวัยวะที่เป็นคู่หรือมีอันเดียว เช่น ตา หู เป็นคู่ ส่วนจมูก ปาก มีอันเดียว
  • อวัยวะนั้นมีหน้าที่อย่างไรเมื่อเทียบกับสิ่งอื่น เช่น จมูกกับเหงือกปลามีไว้หายใจ
  • อวัยวะนั้นอยู่ข้างนอกหรือภายในร่างกาย เช่น ปากอยู่ข้างนอก ตับอยู่ภายใน
ขา : ล้อรถยนต์? : ?
1. ปากลำโพง
2. ตากระจก
3. เท้าเบรก
4. จมูกพัดลม
ตอบ 1. หน้าที่ของอวัยวะเมื่อเทียบกับสิ่งอื่น

8. การเปรียบเทียบหรือคำที่มีความหมายเดียวกันหรือตรงข้ามกัน

เชาวน์ปัญญา

  • ความหมายใกล้เคียงกัน เช่น ตัดกับหั่น กุญชรกับหัตถี กระจ่างกับแจ่ม
  • ความหมายตรงข้ามกัน เช่น ผลักกับดึง ร้อนกับเย็น มือกับสว่าง
มโหฬาร : ยิ่งใหญ่? : ?
1. ชัดรุ่งโรจน์
2. กันยากัญญา
3. แหนงใจระแวง
4. เกี่ยวโยงเกี่ยวพัน
ตอบ 2. เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน กันยาและกัญญา มีความหมายว่วา สาวน้อย, สาวรุ่น

9. ประเภทของพืช ผลไม้ และต้นไม้

เชาวน์ปัญญา

  • เป็นพืชล้มลุกหรือไม้ยืนต้น เป็นไม้ทั่วไปหรือไม้หวงห้าม
  • ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์ (ขาย, กิน) เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ นำดอกไปใช้
  • เป็นพืชทั่วไปหรือพืชสมุนไพร เป็นผลไม้ที่รสอย่างไร เช่น หวาน เปรี้ยว หวานอมเปรี้ยว
  • ลักษณะนามที่ใช้เรียก เช่น ข้าวโพดเรียกฟัก ข้าวเรียกรวง มะพร้าวเรียก
ดอก : ใบ? : ?
1. ปรุงอาหารดูดอาหาร
2. รากลำต้น
3. ผลผสมเกสร
4. รับแสงงอก
ตอบ 2. เป็นส่วนย่อยหรือส่วนประกอบของพืชและผลไม้

10. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

เชาวน์ปัญญา

  • สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น มหาสมุทร ทะเล ภูเขา แม่น้ำ
  • สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น บ้านเรือน ถนน สนามบิน เขื่อน โรงงาน วัด
ภูเขา : เขื่อน? : ?
1. ป่าไม้ทะเล
2. น้ำตกถนน
3. ลำคลองแม่น้ำ
4. ถนนลาดยางอากาศ
ตอบ 2. สิ่งแวดล้อมธรรมชาติกับมนุษย์สร้างขึ้น

ตัวอย่างการติวในชุด Box set วิดีโอติวแนวคิดพิชิตข้อสอบภาค ก. ครบเนื้อหาสอบ