1. ข้อใดคือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
1. ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้า
2. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น*
3. ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
4. กำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ
2. ข้อใดเป็น การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
1. การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้*
2. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
3. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
4. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
3. ข้อใดไม่ใช่ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
1. ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด
2. ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
3. การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น*
4. ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น
4. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการต้องดำเนินการ ยกเว้นข้อใด
1. กำหนดเป้าหมาย
2. แผนการทำงาน
3. จัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะ*
4. ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ
5. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่่ต้องคำนึงถึง ในการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการว่าภารกิจใดมีความจำเป็น หรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่
1. ความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่นประกอบกัน
2. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน*
3. กำลังเงินงบประมาณของประเทศ
4. ยุทธศาสตร์ชาติ
6. การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการด้านต่างๆ ยกเว้นข้อใด
1. ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ
2. ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ
3. คุณภาพการให้บริการ
4. การจัดทำแผนงานตามกฎหมาย*
7. ข้อใดไม่ใช่ส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
1. กระทรวง
2. ทบวง
3. กรม
4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น*
8. ที่มาของ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาจากมาตราใดของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
1. มาตรา 3/1*
2. มาตรา 3/2
3. มาตรา 3/3
4. มาตรา 3/4
9. ใครต้องจัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดินตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี
1. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. สำนักงบประมาณ
4. คณะรัฐมนตรี*
10. หน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ
1. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงบประมาณ
3. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา*
4. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
11. แผนปฏิบัติราชการประจำปี ต้องเสนอผู้ใดให้ความเห็นชอบ
1. คณะรัฐมนตรี*
2. นายกรัฐมนตรี
3. รัฐมนตรี
4. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
12. แผนการบริหารราชการแผ่นดินเป็นแผ่น……ปี และแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการเป็นแผน…..ปี
1. 1 ปี, 2 ปี
2. 1 ปี, 4 ปี
3. 4 ปี, 4 ปี
4. 4 ปี, 5 ปี*
13. ใครมีหน้าที่กำหนดให้จัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะ
1. กรมบัญชีกลาง*
2. สำนักงบประมาณ
3. ก.พ.ร.
4. สำนักนายกรัฐมนตรี
14. ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะแล้วรายงานให้ส่วนราชการใดทราบ
1. ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ และ คณะรัฐมนตรี
2. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก.พ.ร. และกรมบัญชีกลาง
3. กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ และ ก.พ.ร.*
4. สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ สำนักเลขาธิการ
15. หน่วยงานใดต้องร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่
1. สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร
2. สำนักงบประมาณ และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ*
3. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และกรมบัญชีกลาง
4. ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณ
16. เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในกี่วัน
1. 7 วัน
2. 15 วัน*
3. 30 วัน
4. 45 วัน
17. หน่วยงานใดมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ความรับผิดชอบระหว่างผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการให้ส่วนราชการถือปฏิบัติก็ได้
1. ก.พ.ร*
2. สำนักนายกรัฐมนตรี
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงบประมาณ
18. ตอนท้ายของพระราชกฤษฎีกา ได้บอกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์ใดบ้าง
1. การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
2. การอำนวยความสะดวก
3. การตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด 5 และหมวด 7
4. ทั้ง 3 ข้อ*
19. หน่วยงานใดเป็นผู้ดำหนดให้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางใสการบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน
1. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
4. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)*
20. ใครเป็นผู้รักษาการ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 บังคับใช้วันที่
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / 10 ตุลาคม 2546
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / 16 กันยายน 2546
3. นายกรัฐมนตรี / 10 ตุลาคม 2546*
4. นายกรัฐมนตรี / 16 กันยายน 2546
ชุดติว/หนังสือ ดีๆ เรียบเรียงโดยติวเตอร์ ผู้สอบผ่านภาค ก. ทั้ง 3 ระดับ
ผมมีความลับจะบอกครับ…

1. บางวิชาไม่มีสอนในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย
เราเรียนจนถึง ป.ตรี, ป.โท แล้วหวังว่า ข้อสอบจะออกตามวิชาต่างๆ ที่เราเรียนมานั้นไม่ถูกทั้งหมด บางคนประมาทไม่อ่านหนังสือไปสอบเลย พอเปิดข้อสอบออกมา เหวอเลย! เพราะข้อสอบ ก.พ. เป็นข้อสอบประยุกต์ บางวิชาไม่มีสอนในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย เราต้องรู้สิ่งนี้ก่อนไปสอบ
2. ข้อสอบใหม่แต่หลักการทำยังเหมือนเดิม
สำนักงาน ก.พ. ออกข้อสอบใหม่ทุกปี แต่หลักการทำข้อสอบยังเหมือนเดิม นั้นหมายความว่า ถ้าเรารู้วิธีจัดการกับข้อสอบโอกาสที่เราจะสอบผ่านก็มีมาก!

