1. ใครมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
2. ปลัดกระทรวง*
3. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
4. อธิบดี
2. ถ้าในกระทรวงรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ แล้วใครจะเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
1. ปลัดกระทรวง*
2. อธิบดี
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
4. รองปลัดกระทรวง
3. ผู้ดำรงตำแหน่งในข้อใดเป็นเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง
1. อธิบดี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
3. รองปลัดกระทรวง
4. ปลัดกระทรวง*
4. ภายในกระทรวงจะออกกฎหมายระดับใดกำหนดให้ส่วนราชการระดับกรมตั้งแต่ 2 ส่วนราชการขึ้นไปอยู่ภายใต้กลุ่มภารกิจเดียวกันก็ได้
1. พระราชบัญญัติ
2. พระราชกฤษฎีกา
3. กฎกระทรวง*
4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
5. ถ้าภายในกระทรวงมีการจัดตั้งกลุ่มภารกิจ หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ต้องดำรงไม่ต่ำกว่าข้อใด
1. ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า อธิบดี*
2. ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า รัฐมนตรี
3. ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ปลัดกระทรวง
4. ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า เลขานุการกรม
6. กระทรวงใดมิได้จัดให้มีกลุ่มภารกิจ และมีปริมาณงานมาก จะให้มีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นได้กี่คน
1. หนึ่งคน
2. สองคน*
3. สามคน
4. สี่คน
7. กระทรวงใดมีภารกิจเพิ่มขึ้น และมีความจำต้องมีรองปลัดกระทรวงมากกว่าที่กำหนดไว้ ใครมีอำนาจร่วมกันอนุมัติให้กระทรวงนั้นมีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นเป็นกรณีพิเศษ
1. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และ คณะรัฐมนตรี
3. คณะรัฐมนตรี และ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
4. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ*
8. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการสำนักงานรัฐมนตรี
1. เลขาธิการรัฐมนตรี
2. ปลัดกระทรวง
3. เลขานุการรัฐมนตรี*
4. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
9. สำนักงานรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ตามข้อใด
1. ราชการของคณะรัฐมนตรี
2. ราชการการเมือง*
3. ราชการการของรัฐสภา
4. ราชการในพระองค์
10. สำนักงานรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อผู้ใด
1. นายกรัฐมนตรี
2. ปลัดกระทรวง
3. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง*
11. หน่วยงานใดมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง
1. สำนักงานปลัดกระทรวง*
2. สำนักงานรัฐมนตรี
3. กรม
4. สำนักงานรัฐมนตรี
12. ถ้าอำนาจหน้าที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวง ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานใด
1. สำนักงานปลัดกระทรวง*
2. สำนักงานรัฐมนตรี
3. ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
4. สำนักนายกรัฐมนตรี
13. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในทบวง (*ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีทบวงแต่มีในกฎหมาย)
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
2. รัฐมนตรีว่าการทบวง*
3. ปลัดทบวง
4. ปลัดกระทรวง
14. ข้อใดคือการจัดระเบียบราชการในทบวง (*ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีทบวงแต่มีในกฎหมาย)
1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดทบวง
3. กรม
4. ถูกทุกข้อ*
15. ใครมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในทบวง (*ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีทบวงแต่มีในกฎหมาย)
1. รัฐมนตรีว่าการทบวง
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
3. ปลัดทบวง*
4. ปลัดกระทรวง
16. หน่วยงานใดในทบวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง (*ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีทบวงแต่มีในกฎหมาย)
1. สำนักงานปลัดทบวง
2. กรม
3. สำนักงานเลขานุการกรม
4. สำนักงานรัฐมนตรี*
17. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรัฐมนตรีที่สังกัดทบวง (*ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีทบวงแต่มีในกฎหมาย)
1. ปลัดทบวง
2. เลขาธิการรัฐมนตรี
3. เลขานุการรัฐมนตรี*
4. รัฐมนตรีว่าการทบวง
18. ข้อใดคือการแบ่งส่วนราชการในกรม
1. สำนักงานเลขานุการกรม
2. กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
3. กอง และ สำนักงาน
4. สำนักงานเลขานุการกรม และ กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง*
19. กรมมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายใด
1. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรม*
2. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกระทรวง
3. พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
4. พรบ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
20. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกรม
1. อธิบดี*
2. ปลัดกระทรวง
3. เลขานุการกรม
4. ผู้อำนวยการกอง
ชุดติว/หนังสือ ดีๆ เรียบเรียงโดยติวเตอร์ ผู้สอบผ่านภาค ก. ทั้ง 3 ระดับ
ผมมีความลับจะบอกครับ…

1. บางวิชาไม่มีสอนในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย
เราเรียนจนถึง ป.ตรี, ป.โท แล้วหวังว่า ข้อสอบจะออกตามวิชาต่างๆ ที่เราเรียนมานั้นไม่ถูกทั้งหมด บางคนประมาทไม่อ่านหนังสือไปสอบเลย พอเปิดข้อสอบออกมา เหวอเลย! เพราะข้อสอบ ก.พ. เป็นข้อสอบประยุกต์ บางวิชาไม่มีสอนในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย เราต้องรู้สิ่งนี้ก่อนไปสอบ
2. ข้อสอบใหม่แต่หลักการทำยังเหมือนเดิม
สำนักงาน ก.พ. ออกข้อสอบใหม่ทุกปี แต่หลักการทำข้อสอบยังเหมือนเดิม นั้นหมายความว่า ถ้าเรารู้วิธีจัดการกับข้อสอบโอกาสที่เราจะสอบผ่านก็มีมาก!

