โทษทางวินัยมีกี่สถาน
มาตรา 88 ... โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) ตัดเงินเดือน (3) ลดเงินเดือน (4) ปลดออก (5) ไล่ออก (พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)
ข้อใดไม่ใช่โทษทางวินัย
มาตรา 88 ... โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้ (1) ภาคทัณฑ์ (2) ตัดเงินเดือน (3) ลดเงินเดือน (4) ปลดออก (5) ไล่ออก (พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)
ข้อใดเป็นข้อปฏิบัติของข้าราชการพลเรือนสามัญ
มาตรา 82 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม (2) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย (3) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจอุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ (พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)
ข้อใดเป็นข้อปฏิบัติของข้าราชการพลเรือนสามัญ
มาตรา 82 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ ... (4) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา (5) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ (6) ต้องรักษาความลับของทางราชการ (พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)
ข้อใดเป็นการกระทำอันเป็นข้อห้ามของข้าราชการพลเรือนสามัญ
มาตรา 83 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ ... (1) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย (2) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว (3) ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น (พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)
ข้อใดเป็นการกระทำอันเป็นข้อห้ามของข้าราชการพลเรือนสามัญ
มาตรา 83 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ ... (4) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ (5) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน (6) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)
ข้อใดเป็นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา 85 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (2) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง (พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)
ข้อใดไม่ใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา 83 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้ (4) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ / ไม่ได้ระบุให้เป็นความผิดวินัยร้ายแรง (พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)
ข้อใดถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา 85 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต (พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)
ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา 85 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (3) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)
ข้อใดคือชื่อพระราชบัญญัติที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บังคับใช้วันที่
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป / ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113/ตอนที่ 60 ก/หน้า 25/14 พฤศจิกายน 2539 จึงบังคับใช้วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 (พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
เจ้าหน้าที่ตามข้อใดที่ต้องรับผิดทางละเมิด หากตนเองได้กระทำ
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ "เจ้าหน้าที่" หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ... (พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
ข้อใดเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ "หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย (พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
นาย ก เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตำแหน่งพนักงานขับรถ สังกัดหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้ขับรถพาเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด ระหว่างทางรถยนต์ของทางราชการที่นาย ก ขับมา ไม่สามารถบังคับได้และเบรกไม่อยู่ ทำให้ไปชนกับรถเข็นขายผลไม้ของแม่ค้าข้างทางได้รับความเสียหาย ผู้เสียหายต้องฟ้องใคร
มาตรา 5 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ (พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดหน่วยงานใดต้องรับผิดชอบ
มาตรา 5 ... ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิด (พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
นาย ก เจ้าหน้าที่ของรัฐ วันหยุดราชการ ได้พาครอบครัวไปเที่ยวต่างจังหวัด ระหว่างทางรถยนต์ส่วนตัวของ นาย ก ขับมา ไม่สามารถบังคับได้และเบรกไม่อยู่ ทำให้ไปชนกับรถเข็นขายผลไม้ของแม่ค้าข้างทางได้รับความเสียหาย ผู้เสียหายต้องฟ้องใคร
มาตรา 6 ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้ (พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดได้ตามระยะเวลาในข้อใดนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด
มาตรา 7 ... ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึง 6 เดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด (พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ในกรณีใดบ้าง
มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องใดของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับ
มาตรา 8 ... ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ (พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539)
- 1. โทษทางวินัยมีกี่สถาน
- 2. ข้อใดไม่ใช่โทษทางวินัย
- 3. ข้อใดเป็นข้อปฏิบัติของข้าราชการพลเรือนสามัญ
- 4. ข้อใดเป็นข้อปฏิบัติของข้าราชการพลเรือนสามัญ
- 5. ข้อใดเป็นการกระทำอันเป็นข้อห้ามของข้าราชการพลเรือนสามัญ
- 6. ข้อใดเป็นการกระทำอันเป็นข้อห้ามของข้าราชการพลเรือนสามัญ
- 7. ข้อใดเป็นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
- 8. ข้อใดไม่ใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
- 9. ข้อใดถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
- 10. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
- 11. ข้อใดคือชื่อพระราชบัญญัติที่ถูกต้อง
- 12. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บังคับใช้วันที่
- 13. เจ้าหน้าที่ตามข้อใดที่ต้องรับผิดทางละเมิด หากตนเองได้กระทำ
- 14. ข้อใดเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
- 15. นาย ก เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตำแหน่งพนักงานขับรถ สังกัดหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้ขับรถพาเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด ระหว่างทางรถยนต์ของทางราชการที่นาย ก ขับมา ไม่สามารถบังคับได้และเบรกไม่อยู่ ทำให้ไปชนกับรถเข็นขายผลไม้ของแม่ค้าข้างทางได้รับความเสียหาย ผู้เสียหายต้องฟ้องใคร
- 16. ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดหน่วยงานใดต้องรับผิดชอบ
- 17. นาย ก เจ้าหน้าที่ของรัฐ วันหยุดราชการ ได้พาครอบครัวไปเที่ยวต่างจังหวัด ระหว่างทางรถยนต์ส่วนตัวของ นาย ก ขับมา ไม่สามารถบังคับได้และเบรกไม่อยู่ ทำให้ไปชนกับรถเข็นขายผลไม้ของแม่ค้าข้างทางได้รับความเสียหาย ผู้เสียหายต้องฟ้องใคร
- 18. ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดได้ตามระยะเวลาในข้อใดนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด
- 19. หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ในกรณีใดบ้าง
- 20. ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องใดของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับ