ข้อใดถือเป็น องค์กรกลางบริหารงานบุคคล
มาตรา 3 "องค์กรกลางบริหารงานบุคคล" หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามข้อใดที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม
มาตรา 3 เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานของรัฐ
ข้อใดเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม
มาตรา 3 หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในฝ่ายบริหาร
พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 บังคับใช้วันที่
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 16 เมษายน 2562 / จึงบังคับใช้ 17 เมษายน 2562)
ใครเป็นผู้รักษาการตาม พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ข้อใดไม่ถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม
มาตรา 3 "หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในฝ่ายบริหาร แต่ไม่หมายความรวมถึง หน่วยงานธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล และองค์กรอัยการ
หมวด 1 ของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 คือเรื่องอะไร
หมวด 1 มาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม
มาตรฐานทางจริยธรรม คือ
มาตรา 5 มาตรฐานทางจริยธรรม คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
มาตรฐานทางจริยธรรม มีทั้งหมดกี่ข้อ
มาตรา 5 มาตรฐานทางจริยธรรม ... ซึ่งจะต้องประกอบด้วย (1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ (3) กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ (5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ (7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
ข้อใดถือเป็นมาตรฐานทางจริยธรรม
มาตรา 5 มาตรฐานทางจริยธรรม ... ซึ่งจะต้องประกอบด้วย (1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ (3) กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ (5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ (7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
ข้อใดเป็นมาตรฐานทางจริยธรรม
มาตรา 5 มาตรฐานทางจริยธรรม ... ซึ่งจะต้องประกอบด้วย (1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ (3) กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ (5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ (7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
องค์กรใดมีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบ
มาตรา 6 ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบจัดทำประมวลจริยธรรม ถ้าเป็นข้าราชการการเมือง ให้องค์กรใดจัดทำ
มาตรา 6 ... ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบ ให้องค์กรต่อไปนี้เป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรม (1) คณะรัฐมนตรี สำหรับข้าราชการการเมือง
ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบจัดทำประมวลจริยธรรม ถ้าเป็นข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือนกลาโหม ให้องค์กรใดจัดทำ
มาตรา 6 ... ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบ ให้องค์กรต่อไปนี้เป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรม (2) สภากลาโหม สำหรับข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือนกลาโหม
ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบจัดทำประมวลจริยธรรม ถ้าเป็นผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ให้องค์กรใดจัดทำ
มาตรา 6 ... ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบ ให้องค์กรต่อไปนี้เป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรม (3) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบจัดทำประมวลจริยธรรม ถ้าเป็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานขององค์การมหาชนให้องค์กรใดจัดทำ
มาตรา 6 ... ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบ ให้องค์กรต่อไปนี้เป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรม (4) คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน สำหรับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
ในกรณีที่มีปัญหาว่าองค์กรใดเป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทใด ให้ใครเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย
มาตรา 6 ... ในกรณีที่มีปัญหาว่าองค์กรใดเป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทใด ให้ ก.ม.จ. เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย
หลักเกณฑ์กลางในการการจัดทำประมวลจริยธรรมและข้อกำหนดจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐใครเป็นผู้กำหนด
มาตรา 6 ... การจัดทำประมวลจริยธรรมและข้อกำหนดจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.จ. กำหนด
เพื่อให้การจัดทำประมวลจริยธรรมในภาครัฐมีมาตรฐานทางจริยธรรมในระดับเดียวกัน ให้องค์กรใดนำมาตรฐานทางจริยธรรมตามมาตรา 5 ไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดของตนเอง
มาตรา 7 เพื่อให้การจัดทำประมวลจริยธรรมในภาครัฐมีมาตรฐานทางจริยธรรมในระดับเดียวกัน ในการจัดทำประมวลจริยธรรมขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลของศาลหรือองค์กรอัยการ องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานธุรการของรัฐสภาและองค์กรอิสระ ให้นำมาตรฐานทางจริยธรรมตามมาตรา 5 ไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบด้วย
หมวด 2 ในพระราชบัญญัตินี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
- 1. ข้อใดถือเป็น องค์กรกลางบริหารงานบุคคล
- 2. เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามข้อใดที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม
- 3. ข้อใดเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม
- 4. พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 บังคับใช้วันที่
- 5. ใครเป็นผู้รักษาการตาม พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
- 6. ข้อใดไม่ถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม
- 7. หมวด 1 ของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 คือเรื่องอะไร
- 8. มาตรฐานทางจริยธรรม คือ
- 9. มาตรฐานทางจริยธรรม มีทั้งหมดกี่ข้อ
- 10. ข้อใดถือเป็นมาตรฐานทางจริยธรรม
- 11. ข้อใดเป็นมาตรฐานทางจริยธรรม
- 12. องค์กรใดมีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบ
- 13. ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบจัดทำประมวลจริยธรรม ถ้าเป็นข้าราชการการเมือง ให้องค์กรใดจัดทำ
- 14. ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบจัดทำประมวลจริยธรรม ถ้าเป็นข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือนกลาโหม ให้องค์กรใดจัดทำ
- 15. ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบจัดทำประมวลจริยธรรม ถ้าเป็นผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ให้องค์กรใดจัดทำ
- 16. ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบจัดทำประมวลจริยธรรม ถ้าเป็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานขององค์การมหาชนให้องค์กรใดจัดทำ
- 17. ในกรณีที่มีปัญหาว่าองค์กรใดเป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทใด ให้ใครเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย
- 18. หลักเกณฑ์กลางในการการจัดทำประมวลจริยธรรมและข้อกำหนดจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐใครเป็นผู้กำหนด
- 19. เพื่อให้การจัดทำประมวลจริยธรรมในภาครัฐมีมาตรฐานทางจริยธรรมในระดับเดียวกัน ให้องค์กรใดนำมาตรฐานทางจริยธรรมตามมาตรา 5 ไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดของตนเอง
- 20. หมวด 2 ในพระราชบัญญัตินี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร