การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ตามข้อใด
มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ (4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อบรรลุเป้าหมาย มีเป้าหมายทั้งหมดกี่ข้อ
มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้ (1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน (2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ (3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ (4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น (5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ (6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ (7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
ข้อใดคือ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ... และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้ (5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว
ข้อใดไม่ใช่การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา / เป็นการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ตามมาตรา 8 ไม่ใช่ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
อย่างน้อยต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามหมวดใดบ้าง
มาตรา 52 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด 5 และหมวด 7
หน่วยงานใดไม่ได้มีหน้าที่ในการร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
มาตรา 13 ... ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานใดมีหน้าที่ในการร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ
มาตรา 15 เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่เพื่อรายงาน
มาตรา 22 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่
หน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
มาตรา 17 ... ให้สำนักงบประมาณและ ก.พ.ร. ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
ให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้นตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนดและรายงานให้หน่วยงานใดทราบ
มาตรา 21 ...ให้ส่วนราชการนั้นจัดทำแผนการลดรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะดังกล่าวเสนอสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ
เพื่อประโยชน์ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ใครจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ความรับผิดชอบระหว่างผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการให้ส่วนราชการถือปฏิบัติได้
มาตรา 28 เพื่อประโยชน์ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ... ก.พ.ร. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ... ให้ส่วนราชการถือปฏิบัติก็ได้
หากส่วนราชการจะจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็นหรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ สิ่งใดที่ไม่ต้องคำนึงถึง (ตามเนื้อหา พรฎ.)
มาตรา 33 ... โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่แถลงต่อรัฐสภา
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าทำเสร็จให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในกี่สิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
มาตรา 13 ...เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 90 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
แผนการลดรายจ่ายถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายในกี่วันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้
มาตรา 21 ... ถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายใน 15 วันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้
เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ที่จะต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในกี่วัน
มาตรา 38 ... ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายใน 15 วัน
แผนการบริหารราชการแผ่นดินไม่มีมีผลผูกผันผู้ใด
มาตรา 13 ... ให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการ ที่จะต้องดำเนินการจัดทำภารกิจให้เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินนั้น
เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ให้หน่วยงานใดต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลาง
มาตรา 40 เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น / 15 กันยายน 2559 ยกเลิกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้จัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาแทน (เปลี่ยนชื่อกระทรวง)
ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และแจ้งหน่วยงานใดทราบด้วย
มาตรา 8 ... ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วย
ส่วนราชการใดไม่อยู่ในบังคับของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้าเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (ตามคำนิยาม)
มาตรา 4 ... "ส่วนราชการ" หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ใครเป็นผู้รักษาการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้าเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
- 1. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ตามข้อใด
- 2. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อบรรลุเป้าหมาย มีเป้าหมายทั้งหมดกี่ข้อ
- 3. ข้อใดคือ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
- 4. ข้อใดไม่ใช่การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
- 5. อย่างน้อยต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามหมวดใดบ้าง
- 6. หน่วยงานใดไม่ได้มีหน้าที่ในการร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
- 7. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานใดมีหน้าที่ในการร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ
- 8. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่เพื่อรายงาน
- 9. หน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
- 10. ให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนั้นตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนดและรายงานให้หน่วยงานใดทราบ
- 11. เพื่อประโยชน์ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ใครจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ความรับผิดชอบระหว่างผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการให้ส่วนราชการถือปฏิบัติได้
- 12. หากส่วนราชการจะจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็นหรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ สิ่งใดที่ไม่ต้องคำนึงถึง (ตามเนื้อหา พรฎ.)
- 13. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าทำเสร็จให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในกี่สิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
- 14. แผนการลดรายจ่ายถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายในกี่วันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้
- 15. เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ที่จะต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในกี่วัน
- 16. แผนการบริหารราชการแผ่นดินไม่มีมีผลผูกผันผู้ใด
- 17. เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ให้หน่วยงานใดต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลาง
- 18. ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และแจ้งหน่วยงานใดทราบด้วย
- 19. ส่วนราชการใดไม่อยู่ในบังคับของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้าเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (ตามคำนิยาม)
- 20. ใครเป็นผู้รักษาการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้าเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
PDF File
ตัวอย่างการติว “แนวคิดพิชิตกฎหมาย ก.พ.”
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562)
เลือกในแบบที่คุณชอบ
ชุดติว & คู่มือเตรียมสอบ
ชุดติว DVD & คู่มือเตรียมสอบ ก.พ. ตามหลักเกณฑ์ใหม่ ปี 2563
