แนวข้อสอบ กพ : พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ชุดที่ 1 (Test & PDF)

1. ให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตามข้อใด

          1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

          2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

          3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

          4. ถูกทุกข้อ*

2. ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534

          1. นายกรัฐมนตรี*

          2. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

          3. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

          4. รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

3. ข้อใดไม่ใช่ราชการส่วนกลาง

          1. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี*

          2. กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง

          3. ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง

          4. กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง

4. การจัดตั้งสำนักนายกรัฐมนตรีให้ตราเป็นกฎหมายใด

          1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

          2. พระราชกำหนด

          3. พระราชบัญญัติ*

          4. พระราชกฤษฎีกา

5. การรวมหรือการโอนส่วนราชการ เช่น รวม 2 กระทรวงเข้าด้วยกัน ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราด้วยกฎหมายระดับชั้นใด

          1. พระราชบัญญัติ

          2. กฎกระทรวง

          3. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

          4. พระราชกฤษฎีกา*

6. หน่วยงานใดมีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่

          1. ก.พ.ร.

          2. สำนักงบประมาณ

          3. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

          4. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณ*

7. การเปลี่ยนชื่อกรมให้ตราเป็นกฎหมายระดับใด

          1. กฎกระทรวง

          2. พระราชบัญญัติ

          3. พระราชกำหนด

          4. พระราชกฤษฎีกา*

8. การยุบกระทรวง เช่น ยุบกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ตราเป็นกฎหมายระดับใด

          1. พระราชบัญญัติ

          2. พระราชกำหนด

          3. พระราชกฤษฎีกา*

          4. กฎกระทรวง

9. การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎหมายชั้นใด

          1. พระราชบัญญัติ

          2. พระราชกฤษฎีกา

          3. กฎกระทรวง*

          4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

10. การจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามกฎหมายใด

          1. พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

          2. พรบ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545*

          3. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักนายกรัฐมนตรี

          4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

11. ส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีบรรดาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็น

          1. กรม*

          2. กระทรวง

          3. ทบวง

          4. องค์กรการเมือง

12. สำนักนายกรัฐมนตรีอาจจัดให้มีส่วนราชการเป็นการภายในขึ้นตรงต่อผู้ใด เพื่อทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการ

          1. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

          2. นายกรัฐมนตรี*

          3. รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

          4. ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

13. ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในสำนักนายกรัฐมนตรี

          1. รองนายกรัฐมนตรี

          2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

          3. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

          4. นายกรัฐมนตรี*

14. ใครเป็นเป็นผู้ช่วยนายกรัฐมนตรี ในการสั่งและปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี

          1. รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

          2. รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี*

          3. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

          4. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

15. ในระหว่างที่คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ เพราะนายกรัฐมนตรีตาย ขาดคุณสมบัติ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก ใครมีหน้าที่มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี

          1. คณะรัฐมนตรี*

          2. รองนายกรัฐมนตรี

          3. ประธานรัฐสภา

          4. เลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

16. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี

          1. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวงหรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง

          2. บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม

          3. แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี

          4. ถูกทุกข้อ*

17. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่มิได้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทบวง สามารถมอบให้ใครปฏิบัติราชการแทนได้

          1. รองนายกรัฐมนตรี

          2. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

          3. เลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

          4. รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี*

18. ข้อใดคืออำนาจหน้าที่ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

          1. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง*

          2. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการในพระองค์

          3. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของรัฐสภา

          4. อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของคณะรัฐมนตรี

19. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

          1. เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

          2. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี*

          3. รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

          4. รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร

20. ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นเป็นข้าราชการการเมือง

          1. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี*

          2. ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

          3. รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร

          4. ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ชุดติว/หนังสือ ดีๆ เรียบเรียงโดยติวเตอร์ ผู้สอบผ่านภาค ก. ทั้ง 3 ระดับ

ผมมีความลับจะบอกครับ…

1. บางวิชาไม่มีสอนในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย

เราเรียนจนถึง ป.ตรี, ป.โท แล้วหวังว่า ข้อสอบจะออกตามวิชาต่างๆ ที่เราเรียนมานั้นไม่ถูกทั้งหมด บางคนประมาทไม่อ่านหนังสือไปสอบเลย พอเปิดข้อสอบออกมา เหวอเลย! เพราะข้อสอบ ก.พ. เป็นข้อสอบประยุกต์ บางวิชาไม่มีสอนในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย เราต้องรู้สิ่งนี้ก่อนไปสอบ

2. ข้อสอบใหม่แต่หลักการทำยังเหมือนเดิม

สำนักงาน ก.พ. ออกข้อสอบใหม่ทุกปี แต่หลักการทำข้อสอบยังเหมือนเดิม นั้นหมายความว่า ถ้าเรารู้วิธีจัดการกับข้อสอบโอกาสที่เราจะสอบผ่านก็มีมาก!