ถอดรหัสแนวข้อสอบ กพ วิชาสดมภ์ คอลัมน์แห่งการเปรียบเทียบ

1. ความหมายของสดมภ์

ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของสดมภ์ไว้ดังนี้
สดมภ์ หมายถึง ช่องในแนวตั้งสําหรับกรอกรายการต่าง ๆ เช่น ตัวเลข สัญลักษณ์ สูตร.

ความหมายที่ราชบัณฑิตยสถานให้มานั้นถือว่าใกล้เคียงกับ แนวข้อสอบ กพ วิชาสดมภ์มาก เพราะมีช่องสำหรับใส่ข้อมูล (คอลัมน์) และภายในจะมี ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือสูตร เพื่อให้เราแก้ปัญหาและหาคำตอบ

วิชาสดมภ์ในการสอบ ก.พ.

วิชาสดมภ์ในการสอบ ก.พ. หมายถึง การเปรียบเทียบข้อมูลจากค่าในสดมภ์ ก. กับ สดมภ์ ข. โดยมีสดมภ์ ค. เป็นข้อมูลเสริมหรือเงื่อนไขบังคับ

ตัวอย่าง

สดมภ์ ก.
สดมภ์ ข.
สดมภ์ ค.
X2
Y2
X-Y = 1

สรุป : วิชาสดมภ์ คือ การหาคำตอบจากการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่าง สดมภ์ ก. กับ สดมภ์ ข. โดยภายในสดมภ์ (คอลัมน์) จะเป็นโจทย์ทางคณิตศาสตร์ โดยเราต้องแก้โจทย์ที่เป็นเงื่อนไขหรือสมการทางคณิตศาสต์ก่อน แล้วจึงนำข้อมูลมาเปรีบเทียบ

  • มากกว่า
  • น้อยกว่า
  • เท่ากัน
  • ไม่สามารถสรุปได้

2. หลักการตอบข้อสอบสดมภ์

ข้อสอบวิชาสดมภ์จะไม่มีตัวเลือกตอบ (Choice) เหมือนกับวิชาอื่นๆ การตอบคำถามจะต้องอิงกับหลักการตอบเสมอหลังจากที่เราหาข้อสรุปได้แล้ว ดังนี้

  • ตอบ 1. หากค่าในสดมภ์ ก. มากกว่าค่าในสดมภ์ ข.
  • ตอบ 2. หากค่าในสดมภ์ ก. น้อยกว่าค่าในสดมภ์ ข.
  • ตอบ 3. หากค่าในสดมภ์ ก. เท่ากับค่าในสดมภ์ ข.
  • ตอบ 4. หากไม่สามารถสรุปได้ว่าค่าในสดมภ์ ก. หรือสดมภ์ ข. มีค่ามากกว่ากัน หรือไม่สามารถหาคำตอบเพื่อมาเปรียบเทียบกันได้

3. รูปแบบข้อสอบสดมภ์

รูปแบบของสดมภ์ ถ้าแบ่งออกมาจะได้ 3 รูปแบบ โดยทั้ง 3 รูปแบบ จะกำหนดข้อมูลเสริมหรือเงื่อนไขบังคับในสดมภ์ ค. หรือ ไม่มีข้อมูลเสริมหรือเงื่อนไขบังคับในสดมภ์ ค. ก็ได้ ตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. กำหนดค่าตายตัวในสดมภ์ ก. มาแล้ว ให้แก้โจทย์เฉพาะสดมภ์ ข.

สดมภ์ ก.
สดมภ์ ข.
สดมภ์ ค.
4
A
XA+2 = X3 · X3
82
m4
4m = 64

2. กำหนดค่าตายตัวในสดมภ์ ข. มาแล้ว ให้แก้โจทย์เฉพาะสดมภ์ ก.

สดมภ์ ก.
สดมภ์ ข.
สดมภ์ ค.
b2a2
-3
(a-b) (a+b) > 3
n
7
7(10)n > 10001

3. กำหนดให้ต้องแก้โจทย์ทั้ง สดมภ์ ก. และ สดมภ์ ข.

สดมภ์ ก.
สดมภ์ ข.
สดมภ์ ค.
X2
Y2
X-Y = 1
√ X+1
1 + √Y